เด็กๆส่วนใหญ่ มักบอกว่า เศษส่วนเป็นเรื่องที่ยาก ไม่เข้าใจ เลยทำให้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ทำไมยากจัง ซึ่งสาเหตุเนื่องมาจากเด็กๆมีความไม่เข้าใจในแนวคิด (Concepts)ของเรื่องเศษส่วน และเรียนรู้ผ่านการท่องจำ (Memorization) มาโดยตลอด ซึ่งส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า ตัวเศษ (numerator) กับ ตัวส่วน (denominator) นั้นมีความหมายเดียวกันหรือพูดง่ายๆก็คือ เป็นสิ่งเดียวกัน เช่น 23 เด็กๆจะเข้าใจว่า 2 และ 3 คือการแสดงจำนวน (quantity) เหมือนกัน แต่แท้จริงแล้ว สองสิ่งนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน
ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของตัวเศษและตัวส่วน ผู้เขียนขอเล่าถึงการแบ่งประเภทในการใช้ตัวเลข (Numbers)ให้เข้าใจกันก่อน ซึ่งในคณิตศาสตร์นั้นเราแบ่งการตัวเลขออกเป็น 4 ประเภทคือ
Cardinal Numbers ตัวเลขประเภทนี้เป็นตัวเลขที่เรานำมากำหนดถึงปริมาณ (quantity) เช่น 1,2,3,4,5.
Ordonal Numbers เป็นตัวเลขที่เราใช้กำหนดอันดับหรือตำแหน่งต่างๆเช่น First (อันดับที่ 1), Second (อันดับที่ 2) เป็นต้น
Measurement Numbers เป็นตัวเลขที่เราจำเป็นต้องใช้ควบคู่กับหน่วยของการวัด (unit of measurement) เช่น “ฉันมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม” เราจะไม่พูดว่า “ฉันมีน้ำหนัก 50”
Nominal Numbers คือตัวเลขที่ใช้เป็นชื่อ เช่น รถเมล์สาย 8
กลับมาเรื่องราวของเศษส่วนกันค่ะ หากเราเห็นคำว่า “3 quarters” หลายๆคนจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ทันทีว่า 34 เพราะว่า ตัวเศษคือเลข 3 เป็นตัวเลขที่แสดงในรูปแบบของการระบุปริมาณหรือ Cardinal way ในขณะที่ ตัวส่วนคือเลข 4 เป็นตัวเลขที่แสดงในรูปแบบของการกำหนดเป็นชื่อหรือ Nominal way ซึ่ง ปัญหาที่พบคือเด็กๆส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าตัวเลขที่ตัวเศษและตัวส่วนเป็นการระบุปริมาณหรือ Cardinal way เหมือนกัน แต่จริงๆแล้ว ตัวส่วนก็จะเหมือนกับทำหน้าที่เหมือนคำนาม (noun) ตัวอย่างเช่น เราอาจจะบอกว่า 34 คือ 3 apples หรือ 3 things หรือ 3 quarters เป็นต้น เราควรสร้างความเข้าใจให้กับเด็กๆว่า ตัวส่วนไม่ได้เป็นการระบุปริมาณแต่จริงๆแล้วคือการใช้ตัวเลขเป็นคำนามเพื่อให้เข้าว่าเราแบ่งออกทั้งหมดเป็นกี่ส่วนใน 1 whole ซึ่ง The Math School ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ในการเรียนรู้เศษส่วน เพื่อให้นักเรียนของเรามีความเข้าใจเชิงลึกและสามารถต่อยอดแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างบทเรียนของ The Math School ที่ช่วยให้น้องๆเข้าใจเรื่องเศษส่วน
Comments